จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information Technology) ทำให้โลกในปัจจุบันมีข้อมูลใหญ่ (Big Data) ข้อมูลเปิด (Open Data) ข้อมูลเครือข่ายสังคม (Social Network Data) มหาศาลและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และต้องการนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลเพื่อสร้างสารสนเทศ (Information) ใช้ประกอบการตัดสิน และการนำข้อมูลใหญ่และหรือสารสนเทศมาวิเคราะห์ (Analytics) เพื่อนำไปสู่ปัญญา (Intelligence) เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) อันนำไปสู่การพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและประเทศชาติในส่วนรวมในระยะยาว

ประเทศไทยยังประสบปัญหาสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างรุนแรงทำให้ความต้องการบริโภคภายในประเทศลดลง มีแนวโน้มจะเกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน (Labor Shortage) อันเกิดจากภาวะประชากรถดถอย (Demographic Recession) และเกิดปัญหาสาธารณสุขเนื่องจากมีจำนวนผู้เจ็บป่วยมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น

ในอีกด้านหนึ่งก็เกิดปัญหาความล้าหลังของแรงงาน (Obsolete Labor) อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด (Disruptive Technology) เช่นมีการนำปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ตลอดจนระบบอัตโนมัติมาทำงานแทนมนุษย์ได้เป็นจำนวนมากทำให้เกิดปัญหาทั้งด้านแรงงานและเศรษฐกิจเนื่องจากจะมีคนที่ตกงานเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีความจำเป็นที่ต้องสร้างปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติมาทดแทนการขาดแคลนแรงงานจากสังคมผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ประเทศไทยกำลังตกอยู่ในภาวะปัญหากับดักรายได้ปานกลาง (Middle-Income Trap) จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างสารสนเทศ (Information) และ ปัญญา (Intelligence) เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาปัญหาแรงงาน และการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ดังกล่าว เพื่อสร้างประเทศไทยให้มีเศรษฐกิจแบบมีความรู้เป็นฐาน (Knowledge-Based Economy) สร้างเศรษฐกิจดิจิตัล (Digital Economy) ตามแนวยุทธศาสตร์ชาติ Thailand 4.0 ซึ่งจำต้องอาศัยปัญญาและสารสนเทศในกระบวนการสร้างคุณค่า (Value Creation Process) แก่ผลิตภัณฑ์และบริการมากกว่าที่จะอาศัยทุนหรือแรงงานแบบเดิม

ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีข้อมูลใหญ่ (Big Data Technology) อันได้แก่ การคำนวณกระจายและการคำนวณแบบก้อนเมฆ (Distributed and Cloud Computing) นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาชีพวิศวกรข้อมูล และเกิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineering) เพื่อดูแลรับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล (Data Infrastructure) และการไหลของข้อมูล (Data Ingestion) ตลอดจนความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security)

ความก้าวหน้าด้านปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร (Artificial Intelligence and Machine Learning) ทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมมากมาย นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกระบวนการการทำงาน ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้นและทำงานแทนมนุษย์ได้ดีมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีความจำเป็นและความต้องการในการวิจัยและพัฒนาขั้นตอนวิธี (Algorithm) ที่ดียิ่งขึ้นในการวิเคราะห์ข้อมูลใหญ่ที่มีความหลากหลาย (Variety) ปริมาณมาก (Volume) และมีความเร็วสูง (Velocity) ตลาดแรงงานสำหรับบุคลากรด้านวิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Engineer) มีเพิ่มมากขึ้นทุกวันทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ความก้าวหน้าด้านภาพนิทัศน์ (Data Visualization) มาจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Digital Multimedia Technology) อันได้แก่ โลกเสมือนจริง (Virtual Reality) โลกเสมือนจริงเสริม (Augmented Reality) แอนิเมชั่นสองและสามมิติ (2D & 3D Animation) ทำให้สามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย นำไปสู่ประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience) ด้วยเทคโนโลยีการเข้าถึงความจริงเสมือน (Immersive Technology) ช่วยให้เกิดความเข้าใจข้อมูล การนำเสนอ และการเล่าเรื่อง (Story Telling) ทำได้สนุกและเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้โลกในยุคปัจจุบันยังมีการบูรณาการระหว่างสาขาวิชา (Multidisciplinary) และการหลอมรวมเทคโนโลยี (Technology Fusion) ซึ่งนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ ในสังคมและเศรษฐกิจ ผลจากการหลอมรวมดังกล่าวทำให้ผู้สำเร็จการศึกษาที่มีความรู้เชิงเดี่ยวทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ยากขึ้น การบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์สาขาวิชาเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งยวด เช่น

วิศวกรรมข้อมูล (Data Engineering: DE) เป็นการบูรณาการระหว่างคณิตศาสตร์/สถิติศาสตร์, วิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร (Artificial Intelligence and Machine Learning: AI&ML) เป็นการบูรณาการระหว่างคณิตศาสตร์/สถิติศาสตร์, วิทยาการคอมพิวเตอร์, และการหาค่าเหมาะสุด (Optimization)

วิทยาการข้อมูล (Data Science: DS) เป็นการบูรณาการระหว่างคณิตศาสตร์/สถิติศาสตร์, วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และเนื้อหาวิชาต่างๆ (Subject Matter Expert)

ปัญญาและการวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analytics and Intelligence: BA&I) เป็นการบูรณาการระหว่างคณิตศาสตร์/สถิติศาสตร์, วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารธุรกิจ

สุขภาพและชีวสารสนเทศศาสตร์ (Health & Bioinformactics: HBI) เป็นการบูรณาการระหว่างคณิตศาสตร์/สถิติศาสตร์, วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, แพทยศาสตร์, ประชากรศาสตร์, และชีววิทยา

การวิเคราะห์นโยบายและการพัฒนา (Policy Analytics and Development: PAD) เป็นการบูรณาการระหว่างคณิตศาสตร์/สถิติศาสตร์, วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, รัฐประศาสนศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, รัฐศาสตร์, และนโยบายสาธารณะ

ภาพนิทัศน์ข้อมูลและเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Data Visualization and Multimedia Technology: DVMT)เป็นการบูรณาการระหว่างคณิตศาสตร์/สถิติศาสตร์, ฟิสิกส์, วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, และจิตรกรรมและศิลปะ

ทั้งนี้หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) ได้พิจารณาปรับปรุงให้มีการเรียนข้ามสาขาวิชาเพื่อให้สามารถทำงานได้จริงและเป็นการสร้างมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้รอบและรู้ลึกและเป็นการหลอมรวมสาขาวิชาหลายสาขาวิชาในคณะสถิติประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการข้อมูล (Data Process) ทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันให้เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของภาครัฐและภาคเอกชน ปรับปรุงให้ทันสมัยตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังเป็นการหลอมรวมทรัพยากรและบุคลากรด้านการเรียนการสอนให้ทำงานข้ามสาขาวิชาและบูรณาการให้เกิดความรู้ใหม่และส่งเสริมงานวิจัยพหุวิทยาการให้เพิ่มมากขึ้น

สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาโทประกอบด้วย 7 สาขาวิชาเอก และหลักสูตรระดับปริญญาเอกมีเพียงสาขาวิชาเอกเดียวคือ Business Analytics and Data Science

ความสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชาเอกในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล เป็นดังรูปด้านล่างนี้

ต้นน้ำของกระบวนการข้อมูล (Upstream of Data Process) มีสาขาวิชาวิศวกรรมข้อมูลและสาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร โดยที่สาขาวิชาวิศวกรรมข้อมูลเป็นต้นธารของโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลและการไหลข้อมูล ส่วนสาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร ดูแลการพัฒนาขั้นตอนวิธีและสนับสนุนทางเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล

กลางน้ำของกระบวนการข้อมูล (Midstream of Data Process) ประกอบด้วยสี่สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ (Analytics) ดังนี้

หนึ่งวิทยาการข้อมูลเน้นที่การวิเคราะห์ข้อมูลแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured Data) อันประกอบด้วย เสียง รูป ข้อความ สื่อสังคม วีดีโอ แอนิเมชั่นสองและสามมิติ ตลอดจนมัลติมีเดีย

สองสาขาวิชาปัญญาและการวิเคราะห์ธุรกิจ เน้นที่การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจทั้งด้านการตลาด การเงิน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการความเสี่ยงเชิงปริมาณ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เพื่อนำไปสู่ความรู้ทางธุรกิจที่สามารถนำไปปฏิบัติได้

สามสุขภาพและชีวสารสนเทศ เน้นที่การวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ สุขภาพและชีววิทยา เพื่อนำไปใช้ความรู้ทางสุขภาพ การแพทย์ ที่สามารถนำไปแก้ปัญหาการแพทย์และการสาธารณสุขได้จริง

สี่ การวิเคราะห์นโยบายและการพัฒนา เน้นที่การวิเคราะห์ข้อมูลภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และการประเมินนโยบาย ตลอดจนความเป็นไปได้ ความคุ้มค่า และประสิทธิภาพประสิทธิผลของโครงการภาครัฐต่างๆ นำไปสู่การบริหารการพัฒนาอย่างมีหลักฐานเชิงประจักษ์

ปลายน้ำของกระบวนการข้อมูล (Downstream of Data Process) มีสาขาวิชาภาพนิทัศน์ข้อมูลและเทคโนโลยีมัลติมีเดียเพื่อนำความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์จากกลางน้ำของกระบวนการข้อมูลเพื่อนำมาเล่าเรื่อง สร้างภาพประกอบ การใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียดิจิทัลเพื่อสร้างสื่อในการสื่อสารและขายความคิดที่ได้จากการวิเคราะห์นำไปสู่การตัดสินใจและอธิบายให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ผลลัพธ์จากกระบวนการข้อมูลได้แก่ กลยุทธ์ นโยบายสาธารณะ ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ การหยั่งรู้ การพัฒนาซอฟท์แวร์ API (Application Program Interface) ซอฟท์แวร์ประยุกต์บนอินเตอร์เน็ทและโทรศัพท์มือถือ ความสามารถในการแข่งขัน และความยั่งยืน

 

1.jpg

หลักสูตรนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมหาบัณฑิตที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) โดยมีความรู้ความสามารถในด้านระเบียบวิธีสถิติและระเบียบวิธีวิจัย การเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ความแตกฉายด้านข้อมูล (Data Literacy) มีทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ (Inquiry Skills) ด้วยตนเอง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ตลอดจนแก้ไขและตอบปัญหาทางธุรกิจ การเงิน การประกันภัย อุตสาหกรรม การแพทย์ สังคม และเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยและโลกอย่างยั่งยืน ทั้งนี้งานด้าน Business Analytics and Data Science เป็นตำแหน่งงานที่กำลังขาดแคลนอย่างมากในโลกปัจจุบันโดยเฉพาะในภาคเอกชนเป็นที่ต้องการสูงมากและแม้แต่ในภาครัฐเองก็เริ่มสนใจและต้องการให้มีการใช้ข้อมูลเพื่อผลักดันให้เกิดการร่างนโยบายสาธารณะและประเมินผลนโยบายสาธารณะอย่างมีหลักฐานและเป็นวิทยาศาสตร์อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศในภาพรวมต่อไปในอนาคตอันใกล้

สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้อนุมัติแผนพัฒนาระยะยาวของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(พ.ศ.2551-2565) ซึ่งประกอบด้วยยุทธศาสตร์ต่าง ๆ จำนวน 8 ยุทธศาสตร์ โดยยุทธศาสตร์ที่ 6 คือการรักษาความเป็นเลิศทางวิชาการด้านหลักสูตร งานวิจัยและการบริการวิชาการที่มีความโดดเด่นและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม และได้กำหนดไว้ในกลยุทธ์ที่ 6.3 เรื่องการพัฒนาสาขาวิชาและหลักสูตรที่สามารถตอบสนองตรงตามความต้องการของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ภายใต้แรงกดดันของปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อให้มีสาขาวิชาครบถ้วนในด้านพัฒนบริหารศาสตร์แนวทางหนึ่งคือการเปิดสอนหลักสูตรทางด้านการวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล เพื่อช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับศาสตร์การวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถาบันให้มีความครบถ้วนและสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น สมตามแนวทางพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรในการก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะสถิติประยุกต์ด้วยพระองค์เอง ด้วยทรงมีพระวิสัยทัศน์อันก้าวไกลที่ว่าการพัฒนาประเทศต้องอาศัยข้อมูลและความรู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรให้กับประเทศชาติตามแนวพระราชดำริในการก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

  1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

      1.1 ปรัชญา

เป็นหลักสูตรที่ผลิตมหาบัณฑิตที่มีทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) โดยมีความรู้ความสามารถในด้านระเบียบวิธีสถิติและระเบียบวิธีวิจัย การเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร (Machine Learning) ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะในการค้นคว้าหาความรู้ (Inquiry Skills) ด้วยตนเอง มีความแตกฉานด้านข้อมูล (Data  Literacy) สามารถจัดการข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลไปใช้และต่อยอด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ตลอดจนแก้ไขและตอบปัญหาทางธุรกิจ การเงิน การประกันภัย อุตสาหกรรม การแพทย์ สังคม และเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยและโลกอย่างยั่งยืน ทั้งนี้งานด้าน Business Analyst และ Data Scientist เป็นตำแหน่งงานที่กำลังขาดแคลนอย่างมากในโลกปัจจุบันโดยเฉพาะในภาคเอกชน เป็นที่ต้องการสูงมากและแม้แต่ในภาครัฐเองก็เริ่มสนใจและต้องการให้มีการใช้ข้อมูลเพื่อผลักดันให้เกิดการร่างนโยบายสาธารณะและประเมินผลนโยบายสาธารณะอย่างมีหลักฐานและเป็นวิทยาศาสตร์อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศในภาพรวมต่อไปในอนาคตอันใกล้

1.2  วัตถุประสงค์

1) ผลิตบุคลากรด้านวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูลเพื่อเป็นกำลังสำคัญของประเทศไทยในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และด้านอื่นๆ ตามแนวทางพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดชซึ่งทรงมีวิสัยทัศน์อันกว้างใกลในการใช้ข้อมูลเพื่อการพัฒนาประเทศอันเป็นพันธกิจของสถาบันบัณฑิตพัฒน
บริหารศาสตร์

2) สร้างบุคลากรที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในการสร้างเศรษฐกิจที่ใช้ความรู้เป็นฐาน กระบวนการสร้างคุณค่าและนวัตกรรมจากข้อมูล เศรษฐกิจดิจิตัลเพื่อนำประเทศไทยก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางและการพัฒนาอย่างยั่งยืนและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

3) ผลิตนักวิชาการด้าน Business Analytics and Data Science เพื่อสร้างองค์ความรู้ งานวิจัย ตอบสนองการพัฒนาประเทศไทย

Slide1

Slide1Slide2Slide3Slide4Slide5Slide7Slide9Slide10Slide11Slide12Slide13Slide14Slide15Slide16Slide17Slide18Slide19Slide20Slide21Slide22Slide23Slide24Slide25Slide26Slide27Slide28Slide29Slide30Slide31Slide32Slide33Slide34Slide48Slide55Slide60Slide65Slide73Slide1.JPG

Slide1Slide2Slide3Slide4Slide5Slide6Slide7Slide8Slide9Slide10Slide11Slide12Slide13Slide14Slide15Slide16Slide17Slide18Slide19Slide20Slide21Slide22Slide23Slide24Slide25Slide26Slide27Slide28Slide29Slide30Slide31Slide32Slide33Slide34Slide35Slide36Slide37Slide38Slide39Slide40Slide41Slide42Slide43Slide1.JPG